อินเตอร์เน็ตเป็นความจำเป็นอันดับแรกๆ พอๆ กับการใช้โทรศัพท์เลยทีเดียวสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของการศึกษา ถือได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ที่ขาดไม่ได้ สำหรับในอินเดียโดยเฉพาะที่เมืองปูเณ่ ร้านอินเตอร์เน็ตที่เปิดให้บริการมีกระจายอยู่ทั่วเมือง ไว้ให้บริการในราคาชั่วโมงละ 10-15 รูปี แต่สำหรับพวกเรานักศึกษาที่มีโน๊ตบุ๊คใช้กันอยู่แล้ว การหาซื้อ USB Modem โมเดมไร้สาย สำหรับต่ออินเตอร์เน็ตก็เป็นความจำเป็นด้วยเหมือนกัน
รวมเนื้อหาทุกเรื่องเกี่ยวกับอินเดีย เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และสัมผัสอินเดียในทุกๆ ด้าน
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การใช้อินเตอร์เน็ตในเมืองปูเณ่
วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555
รู้จัก"ปูเณ่"
ปูเณ่ (Pune) หรือเดิมเรียกกันว่า ปูณาวดี (Punawadi) หรือ ปัญญา-นาการี (Punya-Nagari) หรือ ปูณา (Poona) ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฎร์ (Maharashtra) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของรัฐ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับแปดของอินเดีย และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัฐมหาราษฎร์ รองจากเมืองมุมไบ (Mumbai) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ ปัจจุบันปูเณ่กลายเป็นเมืองศูนย์กลางสำคัญทางด้านธุรกิจและการศึกษา
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
เมืองปูเณ่,
แหล่งท่องเที่ยว
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ไปรษณีย์อินเดีย
แม้ว่าอินเตอร์เน็ตจะเข้าถึงประชาชนในหลายท้องที่ แต่คนที่รู้จักใช้คอมพิวเตอร์ในอินเดียมีเพียงจำนวนหนึ่ง ไม่มากนักเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ การติดต่อสื่อสารสำคัญยังต้องพึ่งพาไปรษณีย์เป็นหลัก โดยเฉพาะอินเดียเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเอกสารเป็นอันมาก การสื่อสารผ่านทางจดหมายจึงยังมีความสำคัญในวิถีชีวิตของคนที่นี่
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ซาลวาร์ กูรตะ (Salwar Kurta) ปัญจาบีสูท (Punjabi suit) หรือ ซาลวาร์ กามีซ (salwar kameez) อีกแบบของชุดประจำชาติอินเดีย
ซาลวาร์ กูรตะ (Salwar Kurta) หรือ ปัญจาบีสูท (Punjabi suit) หรือบ้างก็เรียก ซาลวาร์ กามีซ (salwar kameez) เป็นชุดที่สตรีนิยมสวมใส่ รวมถึงผู้ชายบางคนด้วย ทั้งในอินเดีย ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน เครื่องแต่งกายแบบนี้เป็นที่นิยมมาตั้งแต่ยุคของจักรวรรดิโมกุล ตั้งแต่ ค.ศ. 1500-1700 เป็นที่นิยมใส่ในรัฐปัญจาบ แต่ปัจจุบันสวมใส่ทั่วอินเดีย ในฐานะชุดประจำชาติของสตรีอีกแบบของอินเดียนอกเหนือจากส่าหรี
ป้ายกำกับ:
การแต่งกายอินเดีย,
ศิลปะและวัฒนธรรมอินเดีย,
สตรีอินเดีย
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ทำไมคนอินเดียชื่นชอบกีฬาคริกเกตกันนัก
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
การศึกษาทางไกลและมหาวิทยาลัยเปิดในอินเดีย
อินเดียมีมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาจำนวนมากที่ให้การศึกษาระบบทางไกล (Distance Education) เช่นเดียวกับที่ต่างๆ ในโลก เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงให้แก่ทุกคน โดยเฉพาะคนที่ไม่ประสงค์จะเข้าเรียนตามระบบด้วยสาเหตุหลายๆ ประการ คนที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกลสถาบันการศึกษา หรือคนที่ขาดโอกาสต่างๆ ก็สามารถสมัครเข้าเรียนในระบบทางไกล ในมหาวิทยาลัยเปิด (Open University) หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เปิดหลักสูตรทางไกลได้ โดยที่นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาและได้รับปริญญาโดยไม่จำเป็นต้องมาเข้าชั้นเรียน
ป้ายกำกับ:
การศึกษาในอินเดีย,
มหาวิทยาลัยในอินเดีย,
สถาบันการศึกษา
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วังชานิวาร์ วาดะ (Shaniwar Wada) สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองปูเณ่
วังชานิวาร์ วาดะ (Shaniwar Wada) เป็นป้อมวังที่สร้างอยู่ใจกลางเมืองปูเณ่ ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า ชานิวาร์ เปธ (Shaniwar Peth) ใกล้สถานีรถไฟเมืองปูเณ่ ใกล้ย่านศูนย์การค้าและแหล่งชอปปิ้งสำคัญของเมืองที่เรียกกันว่า ถนนลักษมี (Laxami Road) ครอบคลุมพื้นที่ 6.25 เอเคอร์ สร้างขึ้นในปี 1732 เป็นที่พำนักของ เปชวา (Peshwa) ซึ่งเป็นตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของจักรวรรดิมาราธะ (Maratha Empire) และเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเมืองของจักรวรรดิ จนกระทั่งถูกทำลายเสียหายด้วยไฟไหม้ครั้งใหญ่ในปี 1828
ป้ายกำกับ:
โบราณสถานในอินเดีย,
เมืองปูเณ่,
แหล่งท่องเที่ยว
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
อินทิรา คานธี สตรีเหล็กแห่งอินเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
"Diwali!" ปีใหม่ของชาวฮินดู
Diwali (ดิวาลี) หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงไฟ (rows of lighted lamps) ดังนั้น Diwali จึงเป็นเทศกาลแห่งแสงไฟและความรื่นเริง เพื่อต้อนรับปีใหม่ของชาวฮินดู อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของคุณงามความดีที่มีต่อความชั่วร้าย และแสงสว่างที่อยู่เหนือความมืดมน ยังแสดงถึงการเริ่มต้นฤดูหนาวอีกด้วย จริงๆ แล้ว Diwali นั้นเป็นการเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระราม และ นางสีดา พระมเหสี ในการเสด็จกลับมาสู่พระนคร อโยธยา (Ayodhya) ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
วิถีชีวิตอินเดีย,
ศาสนาและความเชื่อ
วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Pune Mirror หนังสือพิมพ์ที่สะท้อนภาพท้องถิ่นเมืองปูเณ่
ต้องการอับเดทเรื่องราวข่าวสารประจำวันของเมืองปูเณ่ต้องนี่เลย Pune Mirror หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเมืองปูเณ่ สะท้อนเรื่องราวข่าวสารทั่วไปในเมืองปูเณ่ ทัศนคติของคนปูเณ่ต่อปัญหาต่างๆ บันเทิง กีฬา สุขภาพ ดูดวง และอื่นๆ อีกมาก เป็นหนังสือพิมพ์ขนาดย่อม มีทั้งหมด 44 หน้า มักขายคู่กันกับ The Times of India แต่ใครจะซื้อแยกก็ได้ เพราะบางคนไม่ชอบอ่านข่าวสารหนักๆ ชอบแต่เรื่องเบาๆ ก็เลือกหามาอ่านกันได้สะดวก ราคาถู๊กถูก ให้ทายว่าเท่าไหร่
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
บันเทิง,
สื่อมวลชน,
สื่อสิ่งพิมพ์ในอินเดีย
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
ฝึกภาษากับนิตยสารสำหรับเด็ก “Champak” ฉบับภาษาอังกฤษ
Champak เป็นนิตยสารรายปักษ์สำหรับเด็ก ตั้งชื่อตามชื่อดอกไม้ในเขตร้อนดอกหนึ่ง ถ้าเอ่ยชื่อเป็นร้องอ๋อ! ทันที ก็ “ดอกจำปา” ไงคะ ที่อินเดียเขาก็มีดอกนี้เหมือนกัน ก็เลยเอามาตั้งเป็นชื่อนิตยสารสำหรับเด็ก ก็ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกันตรงไหน แต่ที่แน่ๆ นิตยสารเล่มนี้ตีพิมพ์ต่อเนื่องมานานถึง 42 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 เป็นต้นมา โดย นายวิศวะ นาถ (Vishwa Nath 1917-2002) เป็นผู้ก่อตั้ง และก็ขายดีมากๆ จนต้องจัดพิมพ์เป็นหลายภาษาเพื่อให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนอินเดียอย่างทั่วถึง ภาษาที่ว่านั้น ได้แก่ ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ ภาษาคุชราตี ภาษามาราตี ภาษากันนาดา ภาษาทมิฬ ภาษาเตเลกู และภาษามาลายาลัม และทุกภาษาก็ขายดีเท่าเทียมกัน
ป้ายกำกับ:
บันเทิง,
สื่อมวลชน,
สื่อสิ่งพิมพ์ในอินเดีย,
หนังสือสำหรับเยาวชน
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the great พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312) ทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311 เป็นระยะเวลา 41 ปี ต่อจากพระเจ้าพินทุสาร พระบิดา พระราชมารดาคือ พระนางศิริธรรมาอัครมเหสี ส่วนพระมเหสี คือ พระนางเวทีสาคีรี มีพระราชโอรสและธิดารวม 11 พระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์โมริยะ ทรงปกครองแคว้นมคธ ที่มีราชธานีชื่อ ปาฏลีบุตร ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ (Patna)
ป้ายกำกับ:
กษัตริย์อินเดีย,
บุคคล,
ประวัติศาสตร์อินเดีย,
ผู้นำอินเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เทศกาลคเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi) ที่เมืองปูเณ่
วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555
มหาวิทยาลัยปูเณ่ (University of Pune)
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ตลาดชีวจิ (Shivaji) แถวถนนเอ็ม.จี. ปูเณ่
ตลาดชีวจิ (Shivaji) หรือบางทีเราก็เรียกว่าตลาดเอ็ม.จี.(M.G.) ตามชื่อถนนที่ตั้ง อยู่ในเขตพื้นที่ที่เรียกว่าแคมป์ ตรงข้ามกับโบสถ์เซนต์ซาเวียรส์ (St.Xaviers) ตลาดแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกในเมืองปูเณ่ เพราะตัวอาคารโบราณที่ตั้งของตลาดสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1885 (125 ปีมาแล้ว) โดย พลโท จอห์น รอสส์ (Lt. Gen John Ross) เป็นผลงานการก่อสร้างด้วยหินที่มั่นคงและยืนหยัดจนถึงปัจจุบัน
ป้ายกำกับ:
ตลาดสดในอินเดีย,
เมืองปูเณ่,
แหล่งท่องเที่ยว
วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
Viva ขั้นตอนสุดท้ายของว่าที่ด๊อกเตอร์
กว่าจะจบเป็นด๊อกเตอร์กับเขาได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างแน่นอน มีหลายขั้นตอน และใช้ระยะเวลาในการรอคอยที่เนิ่นนาน นับแต่วันที่ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาจนกระทั่งจบการศึกษาในระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี ที่นี่เขาเรียกนักศึกษาระดับปริญญาเอกว่า Ph.D. Researchers แต่เรียกเป็นนักศึกษา ป.เอก ก็คงพอได้ แม้ว่าหลักสูตรปริญญาเอกในหลายๆ ที่ไม่มีการเข้าชั้นเรียน แต่ก็มีอีกหลายๆ ที่ต้องเรียนวิชาบางอย่างเพิ่มเติม แม้แต่ที่เดคกันคอลเลจในปัจจุบัน นักศึกษาป.เอกต้องลงทะเบียนเรียนบางรายวิชาด้วย
ป้ายกำกับ:
การศึกษาในอินเดีย,
การศึกษาระดับปริญญาเอก,
Viva
วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
บันดห์ (Bandh) วัฒนธรรมการประท้วงแบบอินเดีย
ป้ายกำกับ:
การประท้วงในอินเดีย,
วิถีชีวิตอินเดีย,
ศิลปะและวัฒนธรรมอินเดีย
วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ทราบหรือไม่ – ทำไมอินเดียถอนตัวจากการแข่งขันฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 1950?
ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1950 ที่ประเทศบราซิลเป็นเจ้าภาพ มีความสำคัญและน่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสถิติการเข้าชมฟุตบอลต่อหนึ่งนัดที่สูงสุดเกือบสองแสนคน อีกทั้งประธานสหพันธ์ฟุตบอลโลก (FIFA) ถึงกับต้องเก็บถ้วยแชมป์ฟุตบอลโลกไว้ในกล่องรองเท้าใต้เตียงนอน เพราะกลัวสูญหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนเหลือรอดและนำมาใช้เป็นถ้วยรางวัลในการแข่งขันเวิล์ดคัพครั้งนั้น
ป้ายกำกับ:
กีฬาและการละเล่นอินเดีย,
ความรู้ทั่วไป,
ฟุตบอลอินเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ความหลากหลายของป้ายทะเบียนรถ (Number Plate) ในอินเดีย
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
ป้ายทะเบียนรถอินเดีย,
ยานพาหนะในอินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555
อักชาร์ดัม (Akshardham) อลังการวัดฮินดูในนครเดลี
ป้ายกำกับ:
ศิลปะและวัฒนธรรมอินเดีย,
สถาปัตยกรรมอินเดีย,
แหล่งท่องเที่ยว
วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
รังโกลี (Rangoli) ศิลปะการวาดภาพตกแต่งที่นิยมในอินเดีย
ภาพวาดรูปแบบหนึ่งที่มักเห็นประจำในอินเดียก็คือ ภาพวาดที่เรียกว่า รังโกลี (Rangoli) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะที่นิยมมากที่สุดในอินเดียก็ว่าได้ เป็นการวาดภาพด้วยทรายหรือผงสี บนพื้นขาวหรือพื้นสี ซึ่งมักใช้ตกแต่งหน้าบ้านของชาวอินเดียในงานเทศกาลต่างๆ หรือในสถานที่จัดงานสำคัญๆ หมายถึงการต้อนรับขับสู้อย่างอบอุ่นของเจ้าบ้านหรือเจ้าภาพต่อแขกที่มาเยือน
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
พิธีทุบมะพร้ว (Coconut Breaking)
มะพร้าว หรือ coconut ในภาษาอังกฤษ และภาษาสันสกฤตเรียกว่า Sriphala ซึ่งหมายถึง ผลไม้แห่งพระเจ้า ดังนั้นเราจึงเห็นชาวอินเดียนิยมถวายมะพร้าวเป็นลูกๆ เพื่อเป็นของบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นอกจากนั้นมะพร้าวยังมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ ของทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองรถใหม่ สร้างสะพานใหม่ เปิดตัวหนังเรื่องใหม่ พิธีเปิดประชุมสัมมนาต่ีางๆ เป็นต้น
ป้ายกำกับ:
พืชผักอินเดีย,
วิถีชีวิตอินเดีย,
ศาสนาและความเชื่อ
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
อินเดียคิดค้นระเบิดมือจากพริกที่เผ็ดที่สุดในโลก
กองทัพอินเดียเพิ่งประกาศใช้อาวุธใหม่ล่าสุดที่เพิ่มเข้ามาในคลังสรรพาวุธ นั่นคือ ระเบิดพริก (chili grenades) ซึ่งทำมาจากพริกที่เผ็ดและร้อนแรงที่สุดในโลก คือ พริกบุตโจโลเกีย (bhut jolokia) ซึ่งเป็นพริกพื้นเมืองของรัฐอัสสัม ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแล้วว่าเป็นพริกที่เผ็ดที่สุดในโลก ตามสถิติของบันทึกโลกกินเนสบุ๊คประจำปี 2007
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เชื่อหรือไม่ พริกกับมะนาวช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
บุตโจโลเกีย (bhut jolokia) พริกปีศาจที่เผ็ดที่สุดในโลก
พริกบุตโจโลเกีย (bhut jolokia) เรียกกันในชื่อท้องถิ่นหลากหลายชื่อ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ นากาโจโลเกีย (naga jolokia) บ้างก็เรียก บิห์โจโลเกีย (Bih Jolokio) ที่หมายถึง พริกปีศาจ (ghost chili) มีถิ่นกำเนิดในรัฐอัสสัม ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นพริกที่เผ็ดที่สุดในโลก เพราะจำนวนเพียงน้อยนิดของพริกชนิดนี้ก็ปรุงแต่งรสชาติที่เผ็ดร้อนเข้มข้นจนน้ำหูน้ำตาไหลพลั๊กๆ กันทีเดียว
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
พืชผักอินเดีย,
อาหารอินเดีย
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
พระเจ้าอักบาร์มหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โมกุล
ยุคสมัยของพระเจ้าอักบาร์มหาราช (Akbar the Great) ถือได้ว่าเป็นช่วงที่รุ่งเรืองมากที่สุดของจักรวรรดิโมกุล ทรงขึ้นครองราชย์ในขณะยังทรงพระเยาว์ 13 พระชันษา ในปี ค.ศ. 1556 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดา พระเจ้าฮุมายัน (Humayun) ทรงแผ่ขยายอาณาจักรไปไกลทางด้านตะวันตกถึงอัฟกานิสถาน และทางใต้ถึงแม่น้ำโกดาวารี (Godavar) ภายใต้การชี้แนะของไบรามข่าน (Bairam Khan) พระเจ้าอักบาร์ทรงยึดดินแดนได้ทั่วฮินดูสถาน และท้ายที่สุดได้ครอบครองดินแดนเกือบจะทั่วภาคเหนือของอินเดียและอัฟกานิสถาน
ป้ายกำกับ:
กษัตริย์อินเดีย,
บุคคล,
ประวัติศาสตร์อินเดีย,
ผู้นำอินเดีย
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ส่าหรี (sari) เอกลักษณ์ของสตรีอินเดีย
อินเดียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดีประเทศหนึ่ง สะท้อนให้เห็นได้จากเครื่องแต่กายสตรี แม้วัยรุ่นส่วนหนึ่งนิยมแต่งกายแบบตะวันตก เสื้อยืด กางเกงยืนแล้วก็ตาม แต่ผู้หญิงอินเดียส่วนใหญ่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น สาหรี ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของสตรีอินเดีย ที่นิยมแต่งในวันสำคัญต่างๆ และเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะสำหรับสตรีที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วอีกด้วย
ป้ายกำกับ:
การแต่งกายอินเดีย,
ศิลปะและวัฒนธรรมอินเดีย,
สตรีอินเดีย
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
นวราตรี (Navratri) เทศกาลบูชาพระแม่ทุรคา
นวราตรี (Navratri, Navaratri, หรือ Navarathri) เป็นเทศกาลแห่งการบูชาและการเต้นรำ ในภาษาสันสกฤตคำว่า นว (nava) หมายถึง เก้า และ ราตรี (ratri) หมายถึง กลางคืน จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “เก้าคืน” ซึ่งในช่วง “เก้าคืน” นี้จะมีการบูชาพระแม่ทุรคา (Durga) หรือศักติ (Shakti) ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจ ในเก้ารูปแบบ
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบบดาวรี (Dowry System) ในอินเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555
“เกียรติยศสังหาร” เพื่อเกียรติของใคร
โดย ติฟาฮา มุกตาร์
การแต่งงานในสังคมอินเดียกางกั้นด้วยม่านประเพณีอันทึบหนาดังม่านเหล็ก ขณะที่ข้อดีเสียระหว่างการแต่งแบบจับคู่โดยพ่อแม่ (Arranged Marriage) และแบบชอบพอกันเอง (Love Marriage) ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ถึงศตวรรษหน้า ทั้งพอเข้าใจได้ว่าสังคมที่ยังยึดโยงอยู่กับจารีตประเพณีโดยเฉพาะเรื่องตระกูลและวรรณะอย่างอินเดีย คนทั่วไปย่อมถือว่าการแต่งแบบจับคู่เป็นเรื่องดีงามกว่า แต่ใครจะคาดคิดว่าในศตวรรษที่ 21 เช่นนี้ การขัดต่อจารีตหรือฝ่าม่านประเพณีจะนำไปสู่การฆ่าในนามของเกียรติยศ
ป้ายกำกับ:
วิถีชีวิตอินเดีย,
สตรีอินเดีย,
สังคมอินเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555
พิพิธภัณฑ์ ราช ดินาการ์ เกลการ์ (Raj Dinakar Kelkar Museum)
ป้ายกำกับ:
พิพิธภัณฑ์ในอินเดีย,
เมืองปูเณ่,
แหล่งท่องเที่ยว
วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555
อนุสรณ์แห่งรัก ทัชมาฮาล (Taj Mahal)
ณ เมืองอัครา รัฐอุตตรประเทศ ห่างจากเดลลีนครหลวงประมาณ 200 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวที่งดงามและเลื่องลือ ตั้งตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา มีนามว่า ”ทัชมาฮาล” (Taj Mahal) ชื่อนี้ประทับอยู่ในใจทุกผู้คนมาหลายศตวรรษ พระเจ้าชาห์ ชหาน ดำรัสให้สร้างทัชมาฮาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสตรีหนึ่งเดียวในพระทัยของพระองค์ตราบจนสิ้นพระชนน์ “พระนาง มุมตัซ มาฮาล”
ป้ายกำกับ:
ทัชมาฮาล,
แหล่งท่องเที่ยว,
Seven Wonders,
(Taj Mahal)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)