วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาหารอินเดีย – ปาลัก พาเนียร์ (Palak Paneer)


อาหารอินเดียวันนี้ขอเสนอเมนูสำหรับชาว Veg หรือ มังสวิรัติ กันบ้าง คนอินเดียเขาทานมังสวิรัติกันเกือบทั้งประเทศ ก็ต้องมีเมนูเด็ดๆ อร่อยๆ อยู่บ้างพอสมควร และหนึ่งในเมนูอาหารยอดนิยมของอินเดียทางภาคเหนือที่นำมาเสนอในวันนี้ คือ ปาลัก พาเนียร์ (Palak Paneer) หรือ แกงผักโขมใส่เนยแข็งพาเนียร์ นั่นเอง

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พาราณสี นครศักดิ์สิทธิ์ริมฝั่งแม่น้ำคงคา


พาราณสี (Varanasi) หรือเดิมรู้จักกันในชื่อ เบนาเรส (Benares) หรือ บานาราส (Banaras) ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ทางภาคกลางตอนเหนือของอินเดีย อยู่ทางฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองที่เป็นทั้งชุมทางรถไฟและศูนย์กลางการค้า และถือกันว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดเมืองหนึ่งของอินเดียตามความเชื่อทั้งในศาสนาฮินดู พุทธ และเชน ทั้งยังเป็นหนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดในอินเดียที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง ชาวฮินดูเรียกเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ว่า กาสี (Kasi)

ประเด็นขัดแย้งระหว่าง อารยัน (Aryans) และดราวิเดียน (Dravidians)


ความแตกต่างโดยพื้นฐานที่สุดของสังคมอินเดีย แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ อารยัน (Aryans) และ ดราวิเดียน (Dravidians) โดยที่เป็นชาวอารยับเกือบ 72 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ชาวดราวิเดียนมีแค่ 28 เปอร์เซ็นต์ ชาวอินเดียตอนเหนือนั้นสืบเชื้อสายมาจากอารยัน ขณะที่ชาวอินเดียตอนใต้สืบเชื้อสายจากดราวิเดียน ภาษาพูดในรัฐ 5 แห่งทางตอนใต้ของอินเดียถือว่าเป็นภาษาดราวิเดียน ส่วนภาษาที่ใช้พูดกันมากที่สุดทางตอนเหนือก็ถือว่าเป็นภาษาอารยัน อีกทั้งตัวอักษรโดยทั่วไปในภาษาอารยันจะแตกต่างจากตัวอักษรของชาวดราวิเดียน และชาวอินเดียก็ยังแบ่งแยกตนเองด้วยสำเนียงภาษาของทางเหนือและทางใต้อีกด้วย

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พิพิธภัณฑ์ ดร.บาบาซาเฮบ อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Ambedkar Museum)


ตามที่เราทราบกันดีแล้วว่า ดร.อัมเบดการ์ เป็นผู้หนึ่งที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของอินเดีย ผู้เขียนร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ผู้ต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมให้กับคนระดับล่าง และเป็นผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย คุณูปโยชน์ที่ท่านทำไว้มากมายยิ่ง ซึ่งประวัติชีวิตของท่านตั้งแต่กำเนิด (14 เมษายน ค.ศ. 1891) จนถึงมรณกรรม (6 ธันวาคม ค.ศ. 1956) และข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้เก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ดร.บาบาซาเฮบ อัมเบดการ์ ในเมืองปูเณ่

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาหารอินเดีย – นาน (Naan)


นาน (Naan) อาหารประเภทแป้งที่ใช้รับประทานร่วมกับอาหารจานหลักอื่นๆ เป็นประเภทเดียวกับโรตีและจาปาตี แตกต่างกันที่แป้งและวิธีการทำนิดหน่อย คนอินเดียรับประทานอาหารจำพวกแป้งเหล่านี้เป็นหลัก เช่นเดียวกับที่เรารับประทานข้าวกับอาหารอื่นๆ

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

I don’t wanna talk to you!


ภาษาสัญลักษณ์บางอย่างที่เราเคยใช้จนชิน อย่านึกว่าที่อื่นๆ เขาจะใช้ในความหมายเหมือนกัน ถ้าหากมันไม่ใช่ภาษาสากลแล้วล่ะก็ เป็นหน้าแหกแน่ๆ ถ้าไม่ศึกษาดูให้ดีก่อน

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Indian Snack – กล้วยแผ่นทอด (Banana Chip) ของอร่อยจากเกราลา


ถ้าใครชอบรับประทานกล้วยแผ่นทอดเคลือบน้ำตาล ที่เราเรียกว่า “กล้วยฉาบ” อย่างบ้านเราแล้วละก็ ที่อินเดียก็มีให้รับประทานเช่นกัน แต่ไม่ได้หวานอย่างบ้านเรา ออกไปในทางหอมมันและเค็มเล็กน้อย ก็อร่อยไปอีกแบบ ได้ลิ้มลองแล้วจะติดใจ เผลอๆ ลืมกล้วยฉาบบ้านเราไปสนิทเลย

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

“ไจ” (Chai) ชานมรสเข้มข้นของอินเดีย


วัฒนธรรมการดื่มชา เรียกว่าแทบจะอยู่ในสายเลือดของคนอินเดีย คนที่นี่นิยมดื่มชามากกว่ากาแฟเสียอีก คนอินเดียเรียกเครื่องดื่มประเภทชานี้ว่า “ไจ” (Chai) ใกล้เคียงกับคำว่า “ชา” ในภาษาจีน บ้างก็เรียกว่า มัสซาลาไจ (Masala Chai) เนื่องเพราะชาที่นี่มีรสเข้มข้นจากการผสมเครื่องเทศปรุงรสให้เผ็ดร้อน ซึ่งมัสซาลา (Masala) เป็นภาษาฮินดี แปลว่า เครื่องเทศ (spice)