วันที่ 1 พฤษภาคม นอกเหนือจากเป็นวันแรงงาน (May Day or Labour Day) ที่มีการเฉลิมฉลองกันในที่ต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ยังเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra) เนื่องจากเป็นวันเฉลิมฉลองวันสถาปนารัฐ ซึ่งได้รับสถานะเป็นรัฐในวันที่ 1 พฤษภาคม 1960 เมื่อรัฐบอมเบย์ในขณะนั้นได้แยกตัวออกเป็นสองรัฐ ได้แก่ มหาราษฎระ (Maharashtra) และคุชราต (Gujarat) บนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านภาษา รัฐมหาราษฎระใช้ภาษามาลาธี (Marathi) และคุชราตใช้ภาษากุจราตี (Gujarati) ภายใต้กฏหมายการจัดระเบียบองค์กรใหม่บอมเบย์
รวมเนื้อหาทุกเรื่องเกี่ยวกับอินเดีย เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และสัมผัสอินเดียในทุกๆ ด้าน
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
1 พฤษภาคม “วันรัฐมหาราษฎระ” (Maharashtra Day)
วันที่ 1 พฤษภาคม นอกเหนือจากเป็นวันแรงงาน (May Day or Labour Day) ที่มีการเฉลิมฉลองกันในที่ต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ยังเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra) เนื่องจากเป็นวันเฉลิมฉลองวันสถาปนารัฐ ซึ่งได้รับสถานะเป็นรัฐในวันที่ 1 พฤษภาคม 1960 เมื่อรัฐบอมเบย์ในขณะนั้นได้แยกตัวออกเป็นสองรัฐ ได้แก่ มหาราษฎระ (Maharashtra) และคุชราต (Gujarat) บนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านภาษา รัฐมหาราษฎระใช้ภาษามาลาธี (Marathi) และคุชราตใช้ภาษากุจราตี (Gujarati) ภายใต้กฏหมายการจัดระเบียบองค์กรใหม่บอมเบย์
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
รัฐมหาราษฎระ,
วันสำคัญของอินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556
Ambedkar Jayanti ฉลองครบรอบวันเกิดดร.อัมเบดการ์
วันนี้ถือเป็นวันหยุดสำคัญวันหนึ่งของคนอินเดียทั้งประเทศ เนื่องในวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ สำหรับชาวพุทธแล้วพวกเรารู้จักท่านเป็นอย่างดีในฐานะผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย แต่สำหรับคนอินเดียท่านมีความสำคัญมากไปกว่านั้น เนื่องมาจากบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ภายหลังอินเดียได้รับอิสรภาพ ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย”
วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันอีสเตอร์ (Easter!) ในอินเดีย
“วันอีสเตอร์ (Easter) ” ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ที่มีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในอินเดียแม้ว่าจะมีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ แต่ก็ให้ความสำคัญและให้เกียรติแก่ทุกศาสนา แม้ว่าชาวคริสต์ในอินเดียมีแค่ 2.5 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศก็ตาม การเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ (Easter) ก็มีขึ้นในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะที่เมืองมุมไบ กัว และรัฐทางตอนเหนือของอินเดีย ที่มีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
วันสำคัญของอินเดีย,
ศาสนาคริสต์
วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556
Good Friday วันศุกร์ประเสริฐในอินเดีย
Good Friday หรือ วันศุกร์ประเสริฐ เป็นวันที่มีความสำคัญมากวันหนึ่งตามปฏิทินของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นการระลึกถึงความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ความเสียสละ และการอุทิศพระองค์ของพระเยซู ที่ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ ชาวคริสต์จึงเรียกวันศุกร์นั้นว่า Good Friday (บ้างก็เรียก Holy Friday, Great Friday หรือ Black Friday) และในอินเดียก็ถือเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศอีกด้วย
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
วันสำคัญของอินเดีย,
ศาสนาคริสต์
วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
คมวาทะ มหาตมะ คานธี (1)
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi 1869 – 1948) ผู้นำทางการเมืองและจิตวิญญาณของอินเดีย บุรุษผู้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพของอินเดีย ชาวอินเดียขนานนามท่านว่าเป็น “มหาตมะ” (Mahatma) หรือ”จิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่” (the Great Soul) ท่านเกิดเมื่อ 2 ตุลาคม 1869 และถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อ 30 มกราคม 1948 เหลือทิ้งไว้แต่เพียงมรดกทางความคิด เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจแก่อนุชนคนรุ่นหลังต่อไป
ป้ายกำกับ:
คมวาทะ,
บุคคล,
ปราชญ์อินเดีย,
ผู้นำอินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556
อัศจรรย์ของเสียจากวัว สร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากชนิด
สำหรับคนที่นับถือศาสนาฮินดู “วัว” ถือได้ว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพนับถือมาแต่อดีต เนื่องเพราะเป็นพาหนะของเทพเจ้าองค์สำคัญ คือ พระศิวะ วัวจึงได้รับสิทธิพิเศษสามารถเดินเหินและนอนได้อย่างอิสระบนท้องถนนและในที่สาธารณะทั่วไปในอินเดีย ชาวฮินดูจะไม่ทำร้ายวัวรวมทั้งไม่รับประทานเนื้อวัวด้วย แต่ในทางกลับกัน กลับนำของเสียที่ปล่อยทิ้งจากวัวที่มีจำนวนมากมายมาคิดค้นใช้ประโยชน์กันหลากหลายรูปแบบ เพราะถือว่าเป็นของดีและบริสุทธิ์จากพระเจ้า
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
ผลิตภัณฑ์อินเดีย,
สัตว์อินเีดีย
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
Main Building สถาปัตยกรรมอันโอ่อ่าของมหาวิทยาลัยปูเณ่
มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเก่าแก่ในอินเดียหลายแห่ง ต่างก็มี Main Building ของตนที่เรียกได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาของแต่ละมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว เพราะโดยมากมักจะเป็นตึกทำการของรัฐหรือทำเนียบที่พักของผู้ปกครองในยุคที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมาก่อน ตึกเก่าแก่เหล่านี้จึงมีอายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไป อย่าง Main Building ของมหาวิทยาลัยปูเณ่ก็มีอายุถึง 146 ปีมาแล้ว
ป้ายกำกับ:
มหาวิทยาลัยในอินเดีย,
เมืองปูเณ่,
สถาบันการศึกษา,
แหล่งท่องเที่ยว
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
กฏเกณฑ์ใหม่ การแนบเอกสารการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน เพื่อขอวีซ่าเข้าอินเดียทุกประเภท
ป้ายกำกับ:
การเดินทางไปอินเดีย,
ความรู้ทั่วไป,
วีซ่าอินเดีย,
Visa to India
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556
อาหารอินเดีย – ไก่แทนดอรี (Tandoori Chicken)
ไก่แทนดอรี (Tandoori Chicken) หนึ่งในเมนูอาหารรสเลิศของอินเดีย ที่ Non-veg อย่างพวกเราชอบทานกันนัก ก็มันทั้งกรอบนอก และนุ่มเนื้อข้างใน รสชาติออกเผ็ดร้อนไปนิดด้วยมัสซาลาและเครื่องปรุงรสต่างๆ มากมาย แถมสีสันออกแดงจัดไปหน่อย แต่อร่อยเหาะน่าดู มีขายตามร้านอาหารทั่วไปหลายที่ ให้สังเกตหน้าร้านค้าที่มีไก่แดงๆ เสียบเหล็กแขวนเรียงรายไว้ข้างหน้านั่นแหล่ะของแท้ล่ะ สนนราคาก็พอสมควร ถ้าทั้งตัวก็ตกราว 170 รูปี ส่วนครึงตัวก็ 85 รูปี
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
เรียนฮินดี – คำทักทายที่ใช้ทั่วไป
“นมัสเต อาฟแกเซแฮ?” สวัสดี คุณสบายดีหรือเปล่า? ”แมทีกฮูม อาฟสุนายเย” ฉันสบายดี แล้วคุณล่ะ? ขอทักทายขึ้นต้นด้วยภาษาฮินดีซะหน่อย ด้วยประโยคยอดนิยมที่ทุกชาติทุกภาษามักใช้กัน แต่ว่าภาษาฮินดีเขาใช้แยกระหว่างชายและหญิง ศัพท์บางตัวจึงออกเสียงแตกต่างกันตามเพศด้วย แต่ก็คงไม่ยากที่จะจดจำเกินไปนัก วันนี้เรามีวีดิโอคำทักทายทั่วไปที่ใช้ในภาษาฮินดีมาฝากกัน เชิญชมได้เลยค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556
อินเดียยกเลิก การเว้นระยะเดินทางเข้าอินเดีย 2 เดือน
ป้ายกำกับ:
การเดินทางไปอินเดีย,
ความรู้ทั่วไป,
วีซ่าอินเดีย,
Visa to India
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556
บันด์การ์เดน (Bund Garden) ปอดแห่งหนึ่งของคนปูเณ่
ปูเณ่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มากด้วยมลพิษพอสมควร เพราะความหนาแน่นของทั้งประชากรและรถรา ยังดีที่มีพื้นที่สีเขียวกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ บ้าง สำหรับ บันด์การ์เดน (Bund Garden) หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า อุทยานมหาตมะคานธี (Mahatma Gandhi Udhayan) ก็เป็นพื้นที่สีเขียวอีกแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงในใจกลางเมืองปูเณ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำ Mula-Mutha อยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และไม่ไกลจากโกเรกอนพาร์คที่เป็นศูนย์รวมของชาวต่างชาติ ที่เพิ่งมีข่าวเกี่ยวกับระเบิดเมื่อไม่นานมานี้ด้วย
วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
ภาษาในอินเดีย,
ภาษาฮินดี,
เรียนภาษาฮินดี
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
อาหารอินเดีย – ปาลัก พาเนียร์ (Palak Paneer)
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
พาราณสี นครศักดิ์สิทธิ์ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
พาราณสี (Varanasi) หรือเดิมรู้จักกันในชื่อ เบนาเรส (Benares) หรือ บานาราส (Banaras) ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ทางภาคกลางตอนเหนือของอินเดีย อยู่ทางฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองที่เป็นทั้งชุมทางรถไฟและศูนย์กลางการค้า และถือกันว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดเมืองหนึ่งของอินเดียตามความเชื่อทั้งในศาสนาฮินดู พุทธ และเชน ทั้งยังเป็นหนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดในอินเดียที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง ชาวฮินดูเรียกเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ว่า กาสี (Kasi)
ป้ายกำกับ:
นครศักดิ์สิทธิ์,
เมืองพาราณสี,
เมืองสำคัญในอินเดีย,
แหล่งท่องเที่ยว
ประเด็นขัดแย้งระหว่าง อารยัน (Aryans) และดราวิเดียน (Dravidians)
ความแตกต่างโดยพื้นฐานที่สุดของสังคมอินเดีย แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ อารยัน (Aryans) และ ดราวิเดียน (Dravidians) โดยที่เป็นชาวอารยับเกือบ 72 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ชาวดราวิเดียนมีแค่ 28 เปอร์เซ็นต์ ชาวอินเดียตอนเหนือนั้นสืบเชื้อสายมาจากอารยัน ขณะที่ชาวอินเดียตอนใต้สืบเชื้อสายจากดราวิเดียน ภาษาพูดในรัฐ 5 แห่งทางตอนใต้ของอินเดียถือว่าเป็นภาษาดราวิเดียน ส่วนภาษาที่ใช้พูดกันมากที่สุดทางตอนเหนือก็ถือว่าเป็นภาษาอารยัน อีกทั้งตัวอักษรโดยทั่วไปในภาษาอารยันจะแตกต่างจากตัวอักษรของชาวดราวิเดียน และชาวอินเดียก็ยังแบ่งแยกตนเองด้วยสำเนียงภาษาของทางเหนือและทางใต้อีกด้วย
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
ประชากรอินเดีย,
ประวัติศาสตร์อินเดีย,
สังคมอินเดีย
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
พิพิธภัณฑ์ ดร.บาบาซาเฮบ อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Ambedkar Museum)
ตามที่เราทราบกันดีแล้วว่า ดร.อัมเบดการ์ เป็นผู้หนึ่งที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของอินเดีย ผู้เขียนร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ผู้ต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมให้กับคนระดับล่าง และเป็นผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย คุณูปโยชน์ที่ท่านทำไว้มากมายยิ่ง ซึ่งประวัติชีวิตของท่านตั้งแต่กำเนิด (14 เมษายน ค.ศ. 1891) จนถึงมรณกรรม (6 ธันวาคม ค.ศ. 1956) และข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้เก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ดร.บาบาซาเฮบ อัมเบดการ์ ในเมืองปูเณ่
ป้ายกำกับ:
พิพิธภัณฑ์ในอินเดีย,
เมืองปูเณ่,
แหล่งท่องเที่ยว,
แหล่งเรียนรู้
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
อาหารอินเดีย – นาน (Naan)
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
I don’t wanna talk to you!
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
Indian Snack – กล้วยแผ่นทอด (Banana Chip) ของอร่อยจากเกราลา
ป้ายกำกับ:
ขนมของขบเคี้ยวอินเดีย,
พืชผักอินเดีย,
อาหารอินเดีย
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
“ไจ” (Chai) ชานมรสเข้มข้นของอินเดีย
วัฒนธรรมการดื่มชา เรียกว่าแทบจะอยู่ในสายเลือดของคนอินเดีย คนที่นี่นิยมดื่มชามากกว่ากาแฟเสียอีก คนอินเดียเรียกเครื่องดื่มประเภทชานี้ว่า “ไจ” (Chai) ใกล้เคียงกับคำว่า “ชา” ในภาษาจีน บ้างก็เรียกว่า มัสซาลาไจ (Masala Chai) เนื่องเพราะชาที่นี่มีรสเข้มข้นจากการผสมเครื่องเทศปรุงรสให้เผ็ดร้อน ซึ่งมัสซาลา (Masala) เป็นภาษาฮินดี แปลว่า เครื่องเทศ (spice)
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556
ข่าวดี! สำหรับคนไทยที่จะมาเที่ยวอินเดียสามารถซื้อบัตรเข้าชมโบราณสถานต่างๆ ได้ในราคาคนท้องถิ่น
เดี๋ยวนี้การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะและโบราณคดีในอินเดียเป็นเรื่องง่ายดาย และราคาถูกมากๆ สำหรับคนไทยทุกคน (5-10 รูปีเท่านั้น ยกเว้นแต่ Taj Mahal ที่เดียว) ในฐานะที่ไทยเป็นภาคีในกลุ่มประเทศ BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative for MultiSectoral Technical and Economic Cooperation) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย ภูฏาน และเนปาล ที่ให้ความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจและอื่นๆ รวมถึงศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวด้วย
ป้ายกำกับ:
ข่าว,
โบราณสถานในอินเดีย,
ศิลปะและวัฒนธรรมอินเดีย,
แหล่งท่องเที่ยว
วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556
ผงกุมกุม (Kum Kum)
ป้ายกำกับ:
วิถีชีวิตอินเดีย,
สตรีอินเดีย,
สัญลักษณ์อินเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556
รายชื่อมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ ในอินเดีย
ป้ายกำกับ:
การศึกษาในอินเดีย,
มหาวิทยาลัยในอินเดีย,
สถาบันการศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)