วันที่ 1 พฤษภาคม นอกเหนือจากเป็นวันแรงงาน (May Day or Labour Day) ที่มีการเฉลิมฉลองกันในที่ต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ยังเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra) เนื่องจากเป็นวันเฉลิมฉลองวันสถาปนารัฐ ซึ่งได้รับสถานะเป็นรัฐในวันที่ 1 พฤษภาคม 1960 เมื่อรัฐบอมเบย์ในขณะนั้นได้แยกตัวออกเป็นสองรัฐ ได้แก่ มหาราษฎระ (Maharashtra) และคุชราต (Gujarat) บนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านภาษา รัฐมหาราษฎระใช้ภาษามาลาธี (Marathi) และคุชราตใช้ภาษากุจราตี (Gujarati) ภายใต้กฏหมายการจัดระเบียบองค์กรใหม่บอมเบย์
มหัศจรรย์อินเดีย
รวมเนื้อหาทุกเรื่องเกี่ยวกับอินเดีย เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และสัมผัสอินเดียในทุกๆ ด้าน
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
1 พฤษภาคม “วันรัฐมหาราษฎระ” (Maharashtra Day)
วันที่ 1 พฤษภาคม นอกเหนือจากเป็นวันแรงงาน (May Day or Labour Day) ที่มีการเฉลิมฉลองกันในที่ต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ยังเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra) เนื่องจากเป็นวันเฉลิมฉลองวันสถาปนารัฐ ซึ่งได้รับสถานะเป็นรัฐในวันที่ 1 พฤษภาคม 1960 เมื่อรัฐบอมเบย์ในขณะนั้นได้แยกตัวออกเป็นสองรัฐ ได้แก่ มหาราษฎระ (Maharashtra) และคุชราต (Gujarat) บนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านภาษา รัฐมหาราษฎระใช้ภาษามาลาธี (Marathi) และคุชราตใช้ภาษากุจราตี (Gujarati) ภายใต้กฏหมายการจัดระเบียบองค์กรใหม่บอมเบย์
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
รัฐมหาราษฎระ,
วันสำคัญของอินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556
Ambedkar Jayanti ฉลองครบรอบวันเกิดดร.อัมเบดการ์
วันนี้ถือเป็นวันหยุดสำคัญวันหนึ่งของคนอินเดียทั้งประเทศ เนื่องในวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ สำหรับชาวพุทธแล้วพวกเรารู้จักท่านเป็นอย่างดีในฐานะผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย แต่สำหรับคนอินเดียท่านมีความสำคัญมากไปกว่านั้น เนื่องมาจากบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ภายหลังอินเดียได้รับอิสรภาพ ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย”
วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันอีสเตอร์ (Easter!) ในอินเดีย
“วันอีสเตอร์ (Easter) ” ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ที่มีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในอินเดียแม้ว่าจะมีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ แต่ก็ให้ความสำคัญและให้เกียรติแก่ทุกศาสนา แม้ว่าชาวคริสต์ในอินเดียมีแค่ 2.5 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศก็ตาม การเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ (Easter) ก็มีขึ้นในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะที่เมืองมุมไบ กัว และรัฐทางตอนเหนือของอินเดีย ที่มีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
วันสำคัญของอินเดีย,
ศาสนาคริสต์
วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556
Good Friday วันศุกร์ประเสริฐในอินเดีย
Good Friday หรือ วันศุกร์ประเสริฐ เป็นวันที่มีความสำคัญมากวันหนึ่งตามปฏิทินของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นการระลึกถึงความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ความเสียสละ และการอุทิศพระองค์ของพระเยซู ที่ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ ชาวคริสต์จึงเรียกวันศุกร์นั้นว่า Good Friday (บ้างก็เรียก Holy Friday, Great Friday หรือ Black Friday) และในอินเดียก็ถือเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศอีกด้วย
ป้ายกำกับ:
เทศกาลอินเดีย,
วันสำคัญของอินเดีย,
ศาสนาคริสต์
วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
คมวาทะ มหาตมะ คานธี (1)
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi 1869 – 1948) ผู้นำทางการเมืองและจิตวิญญาณของอินเดีย บุรุษผู้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพของอินเดีย ชาวอินเดียขนานนามท่านว่าเป็น “มหาตมะ” (Mahatma) หรือ”จิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่” (the Great Soul) ท่านเกิดเมื่อ 2 ตุลาคม 1869 และถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อ 30 มกราคม 1948 เหลือทิ้งไว้แต่เพียงมรดกทางความคิด เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจแก่อนุชนคนรุ่นหลังต่อไป
ป้ายกำกับ:
คมวาทะ,
บุคคล,
ปราชญ์อินเดีย,
ผู้นำอินเดีย
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556
อัศจรรย์ของเสียจากวัว สร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากชนิด
สำหรับคนที่นับถือศาสนาฮินดู “วัว” ถือได้ว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพนับถือมาแต่อดีต เนื่องเพราะเป็นพาหนะของเทพเจ้าองค์สำคัญ คือ พระศิวะ วัวจึงได้รับสิทธิพิเศษสามารถเดินเหินและนอนได้อย่างอิสระบนท้องถนนและในที่สาธารณะทั่วไปในอินเดีย ชาวฮินดูจะไม่ทำร้ายวัวรวมทั้งไม่รับประทานเนื้อวัวด้วย แต่ในทางกลับกัน กลับนำของเสียที่ปล่อยทิ้งจากวัวที่มีจำนวนมากมายมาคิดค้นใช้ประโยชน์กันหลากหลายรูปแบบ เพราะถือว่าเป็นของดีและบริสุทธิ์จากพระเจ้า
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
ผลิตภัณฑ์อินเดีย,
สัตว์อินเีดีย
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
Main Building สถาปัตยกรรมอันโอ่อ่าของมหาวิทยาลัยปูเณ่
มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเก่าแก่ในอินเดียหลายแห่ง ต่างก็มี Main Building ของตนที่เรียกได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาของแต่ละมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว เพราะโดยมากมักจะเป็นตึกทำการของรัฐหรือทำเนียบที่พักของผู้ปกครองในยุคที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมาก่อน ตึกเก่าแก่เหล่านี้จึงมีอายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไป อย่าง Main Building ของมหาวิทยาลัยปูเณ่ก็มีอายุถึง 146 ปีมาแล้ว
ป้ายกำกับ:
มหาวิทยาลัยในอินเดีย,
เมืองปูเณ่,
สถาบันการศึกษา,
แหล่งท่องเที่ยว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)